วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
      - วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมในห้อง โดยการสื่อความหมาย ในการใช้ท่าทาง สัญลักษณ์ การจำ

นี่ก็เป็นภาพกิจกรรมที่นักศึกษาร่วมกันทำ





       - พอทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ก็เริ่มเข้าเนื้อหาที่เกี่ยวกับทฤษฏี

บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของการสื่อสาร   
  • การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
  • การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

  1. ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
  2. ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  3. ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  4. ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  5. ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต


รูปแบบของการสื่อสาร
  • รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
  • รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
  • รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 

รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)

                                        

รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)

รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)


รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )


รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 

    
องค์ประกอบของการสื่อสาร

      1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
      2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
      3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
      4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)    
      5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร

  • ผู้จัดกับผู้ชม
  • ผู้พูดกับผู้ฟัง
  • ผู้ถามกับผู้ตอบ
  • คนแสดงกับคนดู
  • นักเขียนกับนักอ่าน
  • ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
  • คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน


สื่อ
  •      ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์                                                    ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

สาร
  • คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
     1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
     2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
     3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
    4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม

ประเภทของการสื่อสาร
  • ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ      3 ประการ คือ 1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร 2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก 3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
       1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดย ฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้รับอาจไม่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได้ การสื่อสารแบบนี้สามารถทำได้รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับการสื่อสารในเรื่องที่เข้าใจง่าย
      1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดยฝ่ายรับมีโอกาสแสดงความคิดเห็น

2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
       2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร 2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น

3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
  • กิจกรรม ต่างๆ ของบุคคลและสังคม ถือว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะคือ 3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication) 3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) 3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 

การสื่อสารกับตนเอง
  • การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
  • การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
  • เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
  • บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
  • บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
  • อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
  • บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
  • เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
  • อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
  • สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
  • การสื่อสารสาธารณะ
  • มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
  • มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  • เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
  • เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
  • ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
  • ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
  • ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
  • อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้
การสื่อสารในครอบครัว
  • เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
  • ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
  • คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
  • ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
  • คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  • ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ
การสื่อสารในโรงเรียน
  • ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
  • เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต
  • มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ
  • อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
  • อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
  • ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
  • ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท
  • คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ

การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
  •  เริ่มด้วยการทักทายตามสภาพของสังคมนั้นๆ
  •  การแสดงความยินดีหรือเสียใจ ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป
  •  การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็นและสุภาพพอควร
  •  การคบหากับชาวต่างประเทศ ควรศึกษาประเพณีและมารยาทที่สำคัญๆของกันและกัน

ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
        ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  •  ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
  • ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
  • ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
  • การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
  • การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด

ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
  •  การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง
  • ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
  •  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
- ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
   1. ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
   2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
   3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ  อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
   4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
   5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
   6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น 
- จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
- ช่วงเวลาในการจัดให้ความรู้ ควรมีเวลาที่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม
   7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
  • ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
  • ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
  • ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
  • ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
  • เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
  • รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
  • ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
  • อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
  • ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

7 c กับการสื่อสารที่ดี
  • Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ 
  • Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
  • Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
  • Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
  • Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
  • Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
  • Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

คุณธรรมในการสื่อสาร

คุณธรรม คือ 
  • ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
  • ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
  • เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
  • เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
  • เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
  • คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
  • ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
  • ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
  • ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
  • เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ  การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
  • เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
  1. ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
  2. พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
  3. พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
  4. หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
  5. ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
  6. มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
  7. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

สรุป การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


คำถามท้ายบทที่ 3 

1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิดทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
               1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
               2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
               3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
               4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
               5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ การสื่อสารช่วยให้ผู้ปกครองและครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลซึ่งกันและกัน และช่วยให้สามารถเข้าใจถึงเหตุการณ์ การจัดการเรียนรู้ของครูที่อยู่ในโรงเรียนและเป็นความเข้าใจตรงกันระหว่างครูและผู้ปกครอง

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งสาร ที่ต้องมีความรู้และทักษะในการสื่อสาร สารต้องมีการจัดการเนื้อหาอย่างเป็นระบบดีแล้วเพื่อนำส่งต่อไปยังผู้รับ ผ่านทางช่องทางที่หลากหลาย เช่น ครูบอกคุณแม่ว่าพรุ่งนี้จะทำกิจกรรมคุ้กกิ้ง ให้คุณแม่เตรียมไข่ไก่มาให้น้อง 1 ฟอง เพื่อที่จะมาทำกิจกรรมคุ้กกิ้งกันในวันพรุ่งนี้

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ
  •  ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
  • ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
  • ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
  • การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
  • การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
  • การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

ตอบ     1.ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ 
             2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
             3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
             4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
             5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง 
             6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้า
             7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนดี ฟังครูอธิบายเนื้อหา มีการพูดคุยกับครููผู้สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน อาจมีพูดคุยกันบ้าง เเต่ก็ไม่เป็นปัญหา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการทักทายกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง อธิบายรายละเอียดได้อย่างชัดเจน 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น